วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
อุปกรณ์
1.โครงหูกหรือโครงกี่ ประกอบด้วยเสา 4 ต้น มีรางหูกหรือรางกี่ 4 ด้าน ทั้งด้านบนและด้านล่าง เสาแต่ละด้ายมีไม้ยึดติดกันเป็นแบบดั้งเดิมที่ยินมใช้กันมาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน
2.ฟืม หรือ ฟันหวี มีฟันเป็นซี่ คล้ายหวี ใช้สำหรับสอดเส้นไหมยืนเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน และใช้กระทบไหมเส้นพุ่งให้สานขัดกับไหมเส้นยืนที่อัดแน่นเป็นเนื้อผ้า ฟันฟืมอาจจะทำด้วยไม้ หรือเหล็ก หรือสแตนเลสก็ได้ มีหลายขนาด ขึ้นกับว่าผู้ใช้จะต้องการผ้ากว้างขนาดเท่าใด เช่น ฟืมอาจมี 35-50 หลบ หรือมากกว่านี้ แต่ละหลบมี 40 ช่องฟัน แต่ละช่องจะสอดเส้นไหมยืน 2 เส้น ดังนั้นการทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ อาจจะใช้เส้นไหมยืนประมาณ 2800-4000 เส้น
3.เขาหูก หรือตะกอ คือ เชือกทำด้วยด้ายไนลอนที่ร้อยคล้องไหมยืน เพื่อแบ่งเส้นไหมเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการเมื่อยกเขาหูกหรือตะกอขึ้น ก็จะดึงเส้นไหมยืนเปิดเป็นช่อง สามารถพุ่งกระสวยเข้าไปให้เส้นไหมพุ่งสานขัดกับเส้นไหมยืนได้ เวลาสอดเส้นไหมยืนต้องสอดสลับกันไปเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่ง และมีเชือกผูกเขาหูกแขวนไว้กับโครงกี่ด้านบนสามารถเลื่อนไปมาได้ ส่วนด้านล่างผูกเชือกติดกับคานเหยียบ เมื่อต้องการดึงแยกเส้นไหมให้เป็นช่องจะใช้เท้าเหยียบที่คานเหยียบทำให้เขา หูกเลื่อนขึ้น-ลง เกิดเป็นช่องสำหรับใส่เส้นไหมพุ่ง
4.กระสวย ใช้บรรจุหลอดเส้นไหมพุ่ง มีหลายแบบ อาจจะทำจากไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติกให้มีน้ำหนักพอประมาณจะได้ไม่พลิกเวลาพุ่งกระสวย มีความลื่นและไม่มีเสี้ยน ขนาดกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เจาะรูตรงกลาง ทำปลายทั้งสองด้านให้งอนเล็กน้อย เพื่อให้ลอดผ่านเส้นไหมยืนได้ง่ายขึ้น
5.ไม้หน้าหูก คือ ไม้ที่อยู่ส่วนหน้าสุดของหูก สำหรับผูกขึงลูกตุ้งทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ
|
6.ไม้รางหูก คือ ไม้ที่พาดขวางโครงหูก ส่วนบนทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำมี 3-4 ท่อน ใช้สำหรับผูกแขวนลูกตุ้ง ไม้ข้างเขา และฟืม
|
7.กระดานม้วนหูก เป็นไม้กระดานที่ใช้สำหรับม้วนปลายด้านหนึ่งของเส้นไหมยืน ซึ่งม้วนเก็บและจัดเส้นยืนให้เป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังช่วยให้เส้นไหมในหูกตึง โดยที่ปลายอีกด้านหนึงผูกติดหรืิือพันไว้กับม้วนผ้า
|
8.ลูกตุ้ง คือไม้ที่สอดค้างกระดานม้วนหูก มี 2 ลูก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนหัวของลูกตุ้งเจ้าสำหรับแขวนไว้กับรางหูกและต้องผูกยึดติดลูกตุ้งไว้กับ ไม้หน้าหูก เพื่อไม่ให้ไม้ลูกตุ้งแกว่งไปมา
|
9.ไม้ค้างเขาหรือไม้ค้างตะกอ เป็นไม้ 2 อันสำหรับแขวนเขาหูกหรือตะกอ ส่วนปลายทั้งสองด้าน จะเจาะรูผูกเชือกแขวนไว้กับไม้ที่พาดขวางรางหูก
|
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563
การดูแลรักษา
การดูแลรักษา
เริ่มกันตั้งแต่การขจัดรอยเปื้อนบนผ้าไหมที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น คราบสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลแก่ที่เกิดจากการเก็บผ้าไว้นาน หากใช้ผงซักฟอกแล้วยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ จะทำให้ผ้าไหมไม่เสีย
- รอยเปื้อนที่เกิดจากคราบเบียร์ที่ถุกปล่อยทิ้งไว้นาน ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ โซเดียมคาบอเรต
- รอยเปื้อนที่เกิดจากเลือด ให้ใช้กรดออกซาลิก หรือถ้าต้องการให้ขาวยิ่งขึ้น ก็ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- รอยเปื้อนที่เกิดจากไอโอดีน ใช้สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตความเข้มข้น 10 % ถูหรือแปรงเบา ๆ ตรงรอยเปื้อนแล้วล้างให้สะอาด
- รอยเปื้อนจากคราบสนิม ใช้กรดออกซาลิกเจือจางที่อุ่นหรือสารที่เป็นสารขจัดสนิม ( ควรล้างอย่างระมัดระวัง )
- ส่วนรอยเปื้อนจากลิปสติกและแป้งรองพื้นให้แต้มด้วยน้ำยาลบหมึกพิมพ์ และล้างด้วยตัวทำลายที่ระเหยง่าย หรือน้ำยาซักแห้ง ถ้ายังมีคราบเหลืองหลงเหลืออยู่ ควรใช้สารละลายเจือจางของโพตัสเซียมไดโครเมต แล้วตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ที่อุ่น และกรดออกซาลิกที่อุ่น
เมื่อรู้จักวิธีขจัดรอยเปื้อนต่าง ๆ แล้ว ต้องรู้อีกว่าทุกครั้งควรซักผ้าไหมนั้นให้สะอาด อย่าไปหวงน้ำ เดี๋ยวจะทำให้สารที่ตกค้างอยู่ไปออกฤทธิ์ทำลายเส้นไหมให้เสียหายได้และ ก่อนจะใช้สารตัวใดกับผ้าไหมควรทดสอบโดยหยดสารนั้นลงบนบริเวณตะเข็บด้านในดูว่าทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนสีหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแสดงว่า สารตัวนั้นใช้ได้
เริ่มตั้งแต่การซัก ควรใช้สบู่หรือสารซักฟอกที่มีสภาพเป็นกลางหรือมีความเป็นด่างน้อย ไม่ควรขยี้หรือขัดถูผ้าไหมแรง ๆ แต่ควรซักด้วยการแกว่งหรือสลัดเบา ๆ ในน้ำจนสะอาด แล้วจึงค่อย ๆ บีบเอาน้ำออกจนผ้าหมาด แต่อย่าบิดผ้าไหม และอย่าซักโดยใช้เครื่องซักผ้า
เวลาตากให้ตากไว้ในที่ร่ม ไม่ควรแขวนผ้าไหมไว้กลางแดดหรือแขวนไว้ใกล้แหล่งกำเนิดรังสี ถ้าต้องการให้ผ้าไหมแห้งเร็วก็ให้เป่าแห้งโดยใช้พัดลม ไม่ควรทำให้แห้งโดยใช้เครื่องปั่นผ้า เพราะจะทำให้เกิดรอยยับมาก ซึ่งจะทำให้รีดลำบากและไม่ควรปล่อยให้ผ้าแห้งเองโดยใช้เวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดรอยด่างเป็นจุด ๆ จากรอยแห้งของหยดน้ำ
ส่วนการรีด ก็ควรรีดขณะผ้ายังหมาดอยู่ แต่ในกรณีที่ผ้าแห้งแล้ว ให้พรมน้ำลงบนผ้าจนผ้าชื้นทั่วทั้งผืน ควรใช้อุณหภูมิในการรีดไม่เกิน 145 องศาเซลเซียส และรีดด้านในของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า แล้วจึงรีดทับบนผ้าบางนั้น จะทำให้ได้ผ้าไหมที่มีความเรียบและสวยงาม แต่ถ้ารีดผ้าไหมขณะยังเปียกและใช้ความร้อนสูงเกิน จะทำให้ผ้าไหมมีความกระด้างไม่น่าสัมผัส
- รอยเปื้อนที่เกิดจากคราบเบียร์ที่ถุกปล่อยทิ้งไว้นาน ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือ โซเดียมคาบอเรต
- รอยเปื้อนที่เกิดจากเลือด ให้ใช้กรดออกซาลิก หรือถ้าต้องการให้ขาวยิ่งขึ้น ก็ใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
- รอยเปื้อนที่เกิดจากไอโอดีน ใช้สารละลายโซเดียมไธโอซัลเฟตความเข้มข้น 10 % ถูหรือแปรงเบา ๆ ตรงรอยเปื้อนแล้วล้างให้สะอาด
- รอยเปื้อนจากคราบสนิม ใช้กรดออกซาลิกเจือจางที่อุ่นหรือสารที่เป็นสารขจัดสนิม ( ควรล้างอย่างระมัดระวัง )
- ส่วนรอยเปื้อนจากลิปสติกและแป้งรองพื้นให้แต้มด้วยน้ำยาลบหมึกพิมพ์ และล้างด้วยตัวทำลายที่ระเหยง่าย หรือน้ำยาซักแห้ง ถ้ายังมีคราบเหลืองหลงเหลืออยู่ ควรใช้สารละลายเจือจางของโพตัสเซียมไดโครเมต แล้วตามด้วยสารละลายโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ที่อุ่น และกรดออกซาลิกที่อุ่น
เมื่อรู้จักวิธีขจัดรอยเปื้อนต่าง ๆ แล้ว ต้องรู้อีกว่าทุกครั้งควรซักผ้าไหมนั้นให้สะอาด อย่าไปหวงน้ำ เดี๋ยวจะทำให้สารที่ตกค้างอยู่ไปออกฤทธิ์ทำลายเส้นไหมให้เสียหายได้และ ก่อนจะใช้สารตัวใดกับผ้าไหมควรทดสอบโดยหยดสารนั้นลงบนบริเวณตะเข็บด้านในดูว่าทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนสีหรือไม่ ถ้าไม่มีอะไรเกิดขึ้นแสดงว่า สารตัวนั้นใช้ได้
เริ่มตั้งแต่การซัก ควรใช้สบู่หรือสารซักฟอกที่มีสภาพเป็นกลางหรือมีความเป็นด่างน้อย ไม่ควรขยี้หรือขัดถูผ้าไหมแรง ๆ แต่ควรซักด้วยการแกว่งหรือสลัดเบา ๆ ในน้ำจนสะอาด แล้วจึงค่อย ๆ บีบเอาน้ำออกจนผ้าหมาด แต่อย่าบิดผ้าไหม และอย่าซักโดยใช้เครื่องซักผ้า
เวลาตากให้ตากไว้ในที่ร่ม ไม่ควรแขวนผ้าไหมไว้กลางแดดหรือแขวนไว้ใกล้แหล่งกำเนิดรังสี ถ้าต้องการให้ผ้าไหมแห้งเร็วก็ให้เป่าแห้งโดยใช้พัดลม ไม่ควรทำให้แห้งโดยใช้เครื่องปั่นผ้า เพราะจะทำให้เกิดรอยยับมาก ซึ่งจะทำให้รีดลำบากและไม่ควรปล่อยให้ผ้าแห้งเองโดยใช้เวลานาน ๆ อาจทำให้เกิดรอยด่างเป็นจุด ๆ จากรอยแห้งของหยดน้ำ
ส่วนการรีด ก็ควรรีดขณะผ้ายังหมาดอยู่ แต่ในกรณีที่ผ้าแห้งแล้ว ให้พรมน้ำลงบนผ้าจนผ้าชื้นทั่วทั้งผืน ควรใช้อุณหภูมิในการรีดไม่เกิน 145 องศาเซลเซียส และรีดด้านในของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า หรืออาจจะใช้ผ้าบาง ๆ ชุบน้ำยาหมาด ๆ ปูลงด้านนอกของผ้า แล้วจึงรีดทับบนผ้าบางนั้น จะทำให้ได้ผ้าไหมที่มีความเรียบและสวยงาม แต่ถ้ารีดผ้าไหมขณะยังเปียกและใช้ความร้อนสูงเกิน จะทำให้ผ้าไหมมีความกระด้างไม่น่าสัมผัส
ที่มา https://qsds.go.th/monmai/tipsdetail.php?adban_id=9
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า
- การขิด ขิด หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
- การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”
- การทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่น จะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาด เคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็น อย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่
1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นยืนและเส้นพุ่ง
ที่มา http://www.openbase.in.th/node/5418
2. มัดหมี่เส้นยืน
3. มัดหมี่เส้นยืนและเส้นพุ่ง
ที่มา http://www.openbase.in.th/node/5418
ขั้นตอนการทอผ้า
ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน
แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ
ที่มา http://www.openbase.in.th/node/5418
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)